(The Safe Management of Contract)
1.
หลักการและเหตุผล
ในการบริหารจัดการสถานประกอบกิจการหรือองค์กรในยุคปัจจุบันนั้น มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจหลักของตนเอง
เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามเป้าประสงค์ ดังนั้นหลายๆ
งานซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักขององค์กรแต่ยังมีจำเป็นในการสนับสนุนปฏิบัติการขององค์กรส่วนใหญ่
เช่น งานทำความสะอาด (Janitorial Service) งานซ่อมแซมและต่อเติม
(Repair and Renovation) งานบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ (Preventive
Maintenance) เป็นต้น เนื่องมาจากความคุ้มค่า
และข้อจำกัดของบุคลากร จึงเลือกใช้ผู้รับจ้างจากหน่วยงานภายนอก
(Contractor) ของแต่ละลักษณะงานให้ดำเนินกิจกรรมแทนการใช้บุคลากรขององค์กรการทำสัญญาจ้าง
(Contract Agreement)
การใช้ประโยชน์จากหน่วยงานภายนอกภายใต้สัญญาจ้างงานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
การทำงานของผู้รับจ้างตามสัญญาจ้างมีผลต่อกระบวนการทำงานปกติขององค์กร
และสามารถก่อให้เกิดการเพิ่มความเสี่ยงร่วมกันมากขึ้น
ผู้รับจ้างเป็นกลไกหนึ่งที่สำคัญในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์
หรือผลงานให้แก่องค์กรเช่นกัน และความปลอดภัยในการทำงานของผู้รับจ้างเป็นข้อกำหนดของกฎหมาย ข้อบังคับและมาตรฐานต่างๆ ที่องค์กร สถานประกอบกิจการ
หรือหน่วยงานต่างๆ ที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกจะต้องปฏิบัติตาม
การบริหารจัดการผู้รับจ้างอย่างรอบคอบและเป็นระบบโดยบูรณาการด้านความปลอดภัยฯ
เข้าไปในทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่ก่อนการสรรหา การประเมินคุณสมบัติ การคัดเลือกเพื่อจัดจ้างการกำกับดูแลทำงานของผู้รับจ้าง
จนถึงการส่งมอบงานนั้น จะทำให้ได้ผู้รับจ้างที่มีคุณสมบัติ
(Qualified
Contractor) สามารถบริหารจัดการธุรกิจและความปลอดภัยขององค์กรของตนเองดี
และสร้างสรรค์ผลงานที่มีผลิตภาพและความคุ้มค่าให้กับองค์กรผู้จ้าง ขณะเดียวกันองค์กรผู้รับจ้างเองก็จะเกิดการพัฒนา
สามารถยกระดับมาตรฐานการทำงานของตนให้แข่งขันและสู่ตลาดสากลได้ และเกิดความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ
หลักสูตรนี้จะช่วยให้ผู้เข้าอบรมได้ทราบถึงการจัดการความปลอดภัยของสัญญาจ้างงานอย่างเป็นขั้นตอนและรอบคอบ เพื่อให้ได้คัดผู้รับจ้างที่มีคุณสมบัติ เข้ามาทำงานและบรรลุข้อตกลงในการจัดซื้อจัดจ้าง
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม
1) ใช้เป็นแนวทางสำหรับทั้งฝ่ายองค์กรและฝ่ายผู้รับจ้างในการปฏิบัติให้สอดคล้องกับข้อผูกพันทางกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
2) นำแนวทางไปใช้การจัดระบบบริหารสัญญาจ้างโดยบูรณาการความปลอดภัยเข้าไปในโครงการเพื่อบรรลุผลตามสัญญาจ้างอย่างมีประสิทธิผลสูงสุด คุ้มค่าและปลอดภัย
3) แสดงให้เห็นว่าสามารถทำได้โดยใช้รูปแบบวัฏจักรชีวิตของสัญญาจ้าง
และนำไปปรับใช้ในการบริหาร
จัดการและการประเมินการทำงานของผู้รับเหมาอย่างเป็นระบบ
4) นำไปใช้เป็นแนวทางในการยกระดับมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้าง
1) ข้อแนะนำ – ความรู้เบื้องต้น
2) ประเภทของสัญญาจ้างและช่วงของสัญญาจ้างงาน
ความสัมพันธ์ และความรู้ความสามารถของผู้รับจ้าง
3) วัฏจักรชีวิตของสัญญาจ้างงานขององค์กรผู้จ้างและผู้รับจ้าง
3.1) การเตรียมโครงการ
(Project preparation)
3.2) การเลือกผู้รับจ้าง/การตรวจสอบการประกวดราคา
(Choice of contractor/Check of tender)
3.3) การจัดทำสัญญาจ้าง
(Contractual arrangements)
3.4) การเตรียมความพร้อมโดยรวม
(Collective preparation)
3.5) การบริหารจัดการสัญญาจ้าง
(Management of contract)
3.6) การควบคุมและการลงชื่อปิดงาน/การเสร็จสมบูรณ์
(Control and sign-off/Completion)
3.7) การทบทวน
(Review)
3.8) การปรับปรุงกระบวนการ
(Process Improvement)
เขียนรีวิวสาธารณะ